มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย
FOUNDATION for ACTION on INCLUSION RIGHTS
มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณะประโยชน์ที่ไม่แสวงหากำไร โดยได้หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 มูลนิธิ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์และสุขภาพ สิทธิผู้บริโภค สิทธิแรงงาน การศึกษา วิจัย หรือสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนา กฎหมาย นโยบาย ระเบียบข้อบังคับ ที่นำไปสู่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเอดส์และสุขภาพ การส่งเสริมการป้องกันโรคเอดส์ ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การช่วยเหลือ สงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม
รวมทั้งมีกลไกการคุ้มครองสิทธิ เป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน องค์กร หรือเครือข่ายต่าง ๆ มูลนิธิ มีเป้าหมายในการสนับสนุนให้รัฐบาลปฏิบัติตามหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน 3 ประการ คือ Respect การเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชน Protect การปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาเมื่อประชาชนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และ Fulfill การส่งเสริมเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิหรือได้ใช้สิทธิมนุษยชน ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล (“ท่าน”) และข้อมูลส่วนบุคคลที่มูลนิธิได้รับจากองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเครือข่ายต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อให้ท่านสามารถเชื่อมั่นได้ว่ามูลนิธิมีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงกฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแจ้งนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ท่านทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ดำเนินการแทนหรือในนามของมูลนิธิ โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
1.1 “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขหนังสือเดินทาง หมายเลขบัญชีธนาคาร ข้อมูลการเงิน ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลการจ้างงาน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ข้อมูลต่อไปนี้ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม ข้อมูลของนิติบุคคล ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล ที่อยู่ของบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคล หมายเลขโทรศัพท์ของที่ทำงาน ที่อยู่อีเมลที่ใช้ในการทำงาน ข้อมูลนิรนาม หรือ ข้อมูลแฝงที่ทำให้ไม่สามารถระบุไปถึงบุคคลธรรมดาได้ได้โดยมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการ เป็นต้น
1.2 “ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และอาจสุ่มเสี่ยงในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
1.3 “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น แต่ไม่ใช่ในกรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของข้อมูลในลักษณะทรัพยสิทธิ หรือเป็นผู้สร้างหรือเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นขึ้นมา และไม่รวมถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรอื่นใด
1.4 “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
1.5 “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
1.6 “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากมูลนิธิให้มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
1.7 “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
1.8 “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นหน่วยงานของรัฐมีทำหน้าที่กำกับดูแล
มูลนิธิอาจเก็บรวบรวมข้อมูลหรือได้มาซึ่งข้อมูลของท่าน ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการที่ท่านใช้หรือบริบทความสัมพันธ์ที่ท่านมีกับมูลนิธิ รวมถึงข้อพิจารณาอื่นที่มีผลกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยประเภทของข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของมูลนิธิเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป
- ข้อมูลส่วนตัว เช่น คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขหนังสือเดินทาง ลายมือชื่อ รวมถึงข้อมูลที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่นข้อมูลบนบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขประจำตัวคนต่างด้าว ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ รูปถ่าย ข้อมูลหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ในทำนองเดียวกัน เป็นต้น
- ข้อมูลการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ไอดีไลน์ ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ทางกายภาพ สถานที่ทำงาน เป็นต้น
- ข้อมูลด้านการศึกษา การงาน วิชาชีพ เช่น ประวัติการศึกษา ผลการศึกษา วุฒิการศึกษา ประวัติการทำงาน ผลการประเมินการทำงาน ใบอนุญาตทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมในตำแหน่งงานหรือวิชาชีพ หนังสือรับรองเงินเดือน เป็นต้น
- ข้อมูลทางบัญชีการเงิน เช่น หมายเลขบัญชีธนาคาร ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้าง เป็นต้น
- ข้อมูลรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เมื่อท่านเข้าร่วมกิจกรรมสัมนาหรือฝึกอบรม เป็นต้น
2.2 ข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้หรือการสื่อสารสารสนเทศ
- ข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์
- ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ เช่น ชนิดของบราวเซอร์ที่ใช้งาน ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา
2.3 ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว
- มูลนิธิเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งจัดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวของท่านตามมาตรา ๒๖ เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลศาสนา เชื้อชาติ โดยขอความยินยอมจากท่าน เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้
มูลนิธิอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากช่องทาง ดังต่อไปนี้
3.1 มูลนิธิได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยตรง โดยมูลนิธิจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
- การที่ท่านขอคำปรึกษา แจ้งเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อมูลนิธิ หรือขั้นตอนการยื่นคำขอใช้สิทธิต่างๆ กับมูลนิธิ หรือระบบรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองการละเมิดสิทธิด้านเอดส์ เพศภาวะ และความเป็นกลุ่มประชากรเปราะบางต่อการถูกเลือกปฏิบติ (CRS ปกป้อง)
- การที่ท่านเข้าร่วมกิจกรรมคลีนิคกฎหมาย
- การที่ท่านเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ตามภารกิจของมูลนิธิ
- การที่ท่านเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม เสวนา สัมนา หรือฝึกอบรม
- จากความสมัครใจของท่านในการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย หรือคัดค้านกฎหมายหรือนโยบาย
- จากความสมัครใจของท่านในการทำแบบสอบถาม (survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ระหว่างท่านและมูลนิธิ
- มูลนิธิ อาจจะมีการจัดเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ เช่น การเก็บข้อมูลการเข้าใช้เว็บไซต์ของมูลนิธิ ผ่านบราวเซอร์ที่ใช้งาน ข้อมูลคุกกี้ (cookies) ของท่าน
คุกกี้(cookies) คือ text file ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของท่าน หรือ server ของผู้ให้บริการเว๊บไซต์ แสดงประวัติการเข้าเว็บไซต์ และแสดงตัวตนของผู้เข้าถึงเว็บไซต์ คุกกี้บางประเภทอาจจัดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มูลนิธิ ใช้คุกกี้ดังต่อไปนี้ สำหรับเว๊บไซต์ของมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
3.2 มูลนิธิได้รับข้อมูลส่วนบุคคล จากบุคคลที่สาม มูลนิธิอาจเก็บรวบรวม ได้รับ หรือเข้าถึงจากแหล่งอื่นซึ่งไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง ซึ่งมูลนิธิจะเก็บรวมรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นเมื่อได้รับความยินยอมจากท่าน เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้
- จากภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร บุคคลอื่นใดที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล หรือผู้ประมวลผลข้อมูล และ/หรือ บุคคลอื่นใดที่มูลนิธิเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นผู้มีสิทธิประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและมีสิทธิเปิดเผยให้แก่มูลนิธิได้
- หน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และหน่วยงานที่กำกับดูแล ได้แก่ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด กรมควบคุมโรค กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
- แหล่งข้อมูลสาธารณะ อื่น ๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น เฟสบุ๊ค เป็นต้น
โดยมูลนิธิได้รับข้อมูลด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้
มูลนิธิ ดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็น ด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ข้อ | วัตถุประสงค์ | ฐานทางกฎหมาย |
4.1 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ สุขภาพ สิทธิผู้บริโภค สิทธิแรงงาน โดยไม่ใช้ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนของท่าน และมูลนิธิจะรักษาความลับของข้อมูลอย่างเคร่งครัด | Legitimate Interest ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
4.2 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษา วิจัย หรือสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนา กฎหมาย นโยบาย ระเบียบข้อบังคับ ที่นำไปสู่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ สุขภาพ สิทธิผู้บริโภค สิทธิแรงงาน โดยไม่ใช้ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนของท่าน และมูลนิธิจะรักษาความลับของข้อมูลอย่างเคร่งครัด | Legitimate Interest ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
4.3 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
| Legitimate Interest ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
4.4 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้การช่วยเหลือ สงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม | Legitimate Interest ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
4.5 | เพื่อประโยชน์ในการการติดต่อประสานงาน แจ้งข้อมูลข่าวสาร | Legitimate Interest ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย |
4.6 | เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของมูลนิธิตามกฎหมาย | Legal Obligation การปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล |
นอกจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นแล้วมูลนิธิจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เว้นแต่ เป็นกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต เช่น
ทั้งนี้หากมูลนิธิ มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ มูลนิธิ จะแจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ให้ท่านทราบและได้รับความยินยอมก่อน เว้นแต่เป็นกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นอนุญาตให้กระทำได้
ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเอกสารนี้ มูลนิธิอาจเปิดเผยข้อมูลของท่านให้แก่บุคคลภายนอกดังต่อไปนี้
5.1 ภาคีเครือข่ายของมูลนิธิ เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ สุขภาพ สิทธิผู้บริโภค สิทธิแรงงาน โดยไม่ใช้ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนของท่าน และมูลนิธิจะรักษาความลับของข้อมูลอย่างเคร่งครัด
5.2 หน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และหน่วยงานที่กำกับดูแล ได้แก่ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
5.3 ตัวแทน ผู้รับจ้าง/ผู้รับจ้างช่วง และ/หรือผู้ให้บริการสำหรับการดำเนินงานใด ๆ ให้แก่มูลนิธิ เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชี ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น
มูลนิธิฯ เคารพสิทธิส่วนบุคคลของท่านตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิดำเนินการ ดังต่อไปนี้
6.1 สิทธิในการถอนความยินยอม: ท่านมีสิทธิในการถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับมูลนิธิได้ ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับมูลนิธิ เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมาย หรือโดยสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้การขอถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อท่านในการที่จะไม่ได้รับบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของท่าน เพื่อประโยชน์ของท่านจึงควรศึกษาและสอบถามมูลนิธิถึงผลกระทบก่อนการถอนความยินยอม ทั้งนี้ การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
6.2 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล: ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิ และขอให้มูลนิธิทำสำเนาข้อมูลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้มูลนิธิเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน มูลนิธิ มีสิทธิปฏิเสธคำขอของท่านตามกฎหมายหรือคำสั่งของศาล หรือกรณีที่คำขอของท่านจะส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
6.3 สิทธิขอถ่ายโอนข้อมูล: ท่านมีสิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ในกรณีที่มูลนิธิได้จัดทำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิขอให้มูลนิธิส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่มูลนิธิส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถดำเนินการได้
6.4 สิทธิขอคัดค้าน: ท่านมีสิทธิขอคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับท่านด้วยเหตุบางประการตามที่กฎหมายกำหนดได้
6.5 สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล: ท่านมีสิทธิขอให้มูลนิธิดำเนินการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ ตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
6.6 สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล: ท่านมีสิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลชั่วคราวในกรณีที่มูลนิธิอยู่ระหว่างการตรวจสอบคำร้องขอใช้สิทธิของท่าน หรือตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
6.7 สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล: ท่านมีสิทธิขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
การขอใช้สิทธิของท่านตามที่กล่าวข้างต้น จะต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยหากท่านประสงค์ที่จะใช้สิทธิใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น โปรดติดต่อมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย ตามช่องทางที่ระบุไว้ โดยมูลนิธิฯ จะพิจารณาและแจ้งผลให้ท่านทราบภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผลและไม่เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ อาจปฏิเสธที่จะดำเนินการตามคำร้องของท่านได้ หากมูลนิธิมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลต่อไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่มูลนิธิมีในฐานะของผู้ควบคุมข้อมูล จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต่อการป้องกันอันตรายร้ายแรงอันอาจเกิดต่อสุขภาพและชีวิตของท่าน จำเป็นต่อการตรวจสอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ เพื่อใช้เป็นการภายในตามสมควรโดยสอดคล้องกับความคาดหมายของท่านที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิ เป็นต้น
มูลนิธิฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในแบบแจ้งฉบับนี้ และอาจเก็บต่อไปตามระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามอายุความทางกฎหมาย เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อเหตุอื่นตามนโยบายและข้อกำหนดภายในองค์กรของมูลนิธิ
มูลนิธิฯ ทราบถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน มูลนิธิจึงกำหนดให้มีมาตรการที่เหมาะสมและครอบคลุมการเก็บรวมรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอื่นใดก็ตาม ซึ่งประกอบด้วยมาตรการเชิงองค์กร (organizational measures) มาตรการเชิงเทคนิค (technical measures) และมาตรการเชิงกายภาพ (physical measures) โดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับ โดยคำนึงถึงความสามารถในการธำรงไว้ซึ่งความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (intergrity) และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคล (availability) ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ มูลนิธิ จึงกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างปลอดภัย อีกทั้งมีการอบรมให้กับบุคคลากรของมูลนิธิ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ทราบถึงกับความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมูลนิธิ ได้มีการทบทวน มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
ท่านสามารถติดต่อมูลนิธิ เพื่อเสนอแนะ สอบถามหรือใช้สิทธิของท่านได้ที่
รายละเอียดผู้ควบคุมข้อมูล
ชื่อ: มูลนิธิเพื่อความหลากหลาย
สถานที่ติดต่อ: เลขที่ 133/235 หมู่บ้านรื่นฤดี 3 ถนนหทัยราษฎร์ แขวง/เขตมีนบุรี
กรุงเทพมหานคร 10510 ช่องทางการติดต่อ: โทรศัพท์ 02 -171-5135
e-mail :fairthailand@gmail.com
รายละเอียดตัวแทนผู้รับผิดชอบ
ชื่อ: คุณไพลิน ดวงมาลา
สถานที่ติดต่อ: เลขที่ 133/235 หมู่บ้านรื่นฤดี 3 ถนนหทัยราษฎร์ แขวง/เขตมีนบุรี
กรุงเทพมหานคร 10510
ช่องทางการติดต่อ: โทรศัพท์ 097-219-4393
e-mail : ma.fueang@gmail.com
รายละเอียดหน่วยงานกำกับดูแล
ชื่อ: สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สถานที่ติดต่อ: เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ช่องทางการติดต่อ: โทรศัพท์ 02-142-1033
โทรสาร 02-171-5124
http://www.pdpc.or.th
e-mail : pdpc@mdes.go.th
มูลนิธิ มีการทบทวนและอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ตามความเหมาะสมอยู่เป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะได้รับความคุ้มครอง โดยมูลนิธิ จะมีการแจ้งให้ท่านทราบผ่านทางเว็บไซต์ของมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
ปัจจุบัน นโยบายความเป็นส่วนตัวถูกทบทวนครั้งล่าสุดเมื่อ [15/กค/2565]